Image default
เรื่องนอกบ้าน

เทคนิคเก็บอาหารในตู้เย็น ให้อยู่ได้นาน

การถนอมอาหารที่ง่ายที่สุดของคนสมัยนี้คือการโยนสิ่งที่ต้องการเก็บเอาไว้ในตู้เย็น แต่หารู้ไม่ว่าถ้าเก็บไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้อาหารที่แช่เสีย ไม่สดใหม่ และทำให้บรรยากาศภายในตู้เย็นเสียไปด้วย วันนี้จะมาบอกเคล็ดลับง่ายๆ ในการแช่อาหารแต่ละประเภทว่าควรจะแช่แบบไหน และอยู่ส่วนไหนของตู้เย็น

1.ห่อผักด้วยกระดาษ

ผักสด ควรจะทานภายใน 1-2 วัน เพื่อให้ได้สารอาหารสูงสุด แต่ถ้าต้องการแช่ผักในตู้เย็น หลังจากล้างผักและเสร็จแล้ว ให้ห่อผักด้วยกระดาษเช็ดมือแผ่นใหญ่ แล้วค่อยนำไปแช่ตู้เย็น กระดาษจะช่วยเก็บความชื้นไม่ให้ระเหยออกไป ซึ่งจะช่วยคงความสดให้นานขึ้น และอย่าลืมเด็ดผักใบที่ช้ำหรือเน่าทิ้งไปก่อนด้วย

2.การแช่ผัก

ควรแช่ผักไว้ชั้นล่างสุดของตู้เย็น ที่ตู้เย็นจะมีสัญลักษณ์บอกอยู่ แต่ก่อนที่จะนำผักไปแช่ ผักชนิดที่เป็นใบ ให้เด็ดใบที่เหี่ยวและเน่าออกก่อน จากนั้นให้ห่อด้วยกระดาษ หรือแรปปิดให้ทั่ว หากเป็นผักชนิดที่มีหัว เช่น หัวไชเท้า ให้เด็ดใบที่หัวออกเพื่อคงความหวาน มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ หอมแดง และกระเทียม ไม่ควรนำมาแช่ตู้เย็น ควรเก็บไว้ในถุงกระดาษ ตะกร้า หรือกล่องพลาสติก เก็บไว้ในอุณภูมิห้อง แช่ตู้เย็นจะทำให้เกิดขึ้นราได้ง่ายๆ

3.แบ่งใส่ถุงให้หยิบใช้ง่าย

การแบ่งเนื้อสัตว์ใส่ถุงเข้าแช่เย็นนั้นควรจัดให้อยู่ในรูปแผ่นแบน ๆ ไม่จุกรวมกันเป็นก้อน เพื่อให้ความเย็นเข้าไปถึงได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งยังสามารถจัดวางได้อย่างเป็นระเบียบและหยิบใช้ได้สะดวก ที่สำคัญยังทำให้ละลายน้ำแข็งได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องการนำออกมาปรุงอาหาร

4.ผลไม้สุกง่ายใส่ถุงสูญญากาศ

ผลไม้ต่าง ๆ ที่สุกง่าย เช่น แอปเปิ้ล อะโวคาโด องุ่น ลูกแพร พริกไทยสด และเห็ดทุกชนิด ให้ใส่ถุงพลาสติกสูญญากาศ และพยายามอย่าให้ผิวของผลไม้แต่ละลูกสัมผัสกัน จะช่วยเก็บไว้ได้นานขึ้น

5.การแช่อาหารสดนอกช่องแช่แข็ง

ถ้าหากเพิ่งซื้อเนื้อสัตว์เตรียมจะมาปรุงอาหารสำหรับวันหยุดที่ใกล้ถึงนี้ แต่ก็ไม่อยากนำไปแช่แข็งให้ละลายยาก ถ้าจะแช่ไว้ในช่องปกติก็กลัวจะเสียซะก่อน สามารถใช้วิธีการง่าย ๆ นี้ได้ค่ะ เพียงนำเนื้อสัตว์ใส่ถุงพลาสติกและวางลงในกล่องที่เติมน้ำพร้อมกับใส่น้ำแข็งไว้แล้ว ตามด้วยการใส่น้ำแข็งโปะลงไปด้านบนอีกทีก่อนจะปิดฝาให้สนิท ความเย็นในระดับนี้สามารถช่วยลดการโตของแบคทีเรียได้โดยไม่ต้องนำไปแช่แข็ง แต่ควรนำออกมาปรุงอาหารภายในเวลา 3-5 วัน เท่านั้นนะคะ

6.น้ำส้มสายชูใช้แช่อาหารสด

เนื้อสดและอาหารทะเล หากไม่อยากให้มีกลิ่นและเสียไว ให้นำไปแช่น้ำส้มสายชูสักพักก่อนจะนำเข้าตู้เย็น และหากจะเอาออกมาทำอาหาร ก็ให้นำไปแช่ในน้ำเกลือผสมน้ำส้มสายชูสักพักก่อนเช่นกัน

7.แช่อาหารทะเล

อาหารทะเลสดๆ นำมาล้างให้สะอาดก่อน ใส่กล่องหรือแรปไว้ เก็บได้แค่ 1-3 วัน ถ้าจะให้เก็บนานกว่านี้ ให้ย้ายไปที่ช่องแช่แข็ง หอยแครง อาหารประเภทกุ้ง และปลา สามารถแช่ในน้ำและแช่ไว้ในช่องแช่แข็ง โดยสามารถอยู่ได้นาน 4 – 6 เดือน

8.ใส่เห็ดในกล่องพลาสติก

เห็ดเป็นอาหารอีกหนึ่งประเภท ที่เสียค่อนข้างเร็ว แนะนำให้ล้างให้สะอาดแล้วตากลมให้แห้ง จากนั้นเก็บใส่กล่องพลาสติก แล้วปิดฝาไม่ต้องสนิท ให้ลมเข้าไปเล็กน้อย หรืออาจให้แผ่นพลาสติกใส ห่อแล้วเจาะรูเล็ก ๆ ที่ ด้านบน เพื่อป้องกันความชื่น ซึ่งเป็นตัวการสำคัญทำให้เห็ดเน่าเสียนั่นเอง

9.วางขวดแนวตั้ง

เครื่องดื่ม เช่น ไวน์ นมสด น้ำหวาน ไม่ควรวางในแนวนอน เพราะฝาขวดอาจจะหลวมหรือเปิดออก ทำให้ออกซิเจนผ่านเข้าไปในขวดได้ง่าย เป็นเหตุให้เครื่องดื่มเน่าเสียนั่นเอง

เป็นไงบ้างครับวิธีการเก็บอาหารให้อยู่ได้นานง่ายมากเลยใช่ไหมหละครับ หวังว่าทุกคนคงสามารถนำวิธีเหล่านี้ไปใช้งานได้ ยิ่งในช่วงโควิดแบบนี้แล้วด้วยการจะเดินทางไปไหนมาไหนก็ลำบากทำไม ไม่ลองหา คอนโดมิเนียมใหม่ ที่อยู่แถวย่านการค้าอยู่ละครับจะได้สะดวกโทรสั่งอาหารได้เลยไม่ต้องกักตุนของด้วย

Related posts

วิธีดูค่าธรรมเนียม ที่อาจทำให้ก่อกำเนิดการกู้ยืมเงินและ PMI

admin

3 ร้านชุดราตรีสไตล์เรียบหรูที่ราคาไม่แพงยอดฮิตบน Instagram

admin

ไข้หวัดใหญ่โรคร้ายประจำปีที่คุณควรป้องกันตั้งแต่ต้น

admin
Please enter an Access Token